เอาตัวรอดในสถานการณ์ภัยพิบัติ



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เอาตัวรอดในสถานการณ์ภัยพิบัติ
ผู้แต่ง : ศุภโชค นิจสุนกิจ
ISBN : 9786167020372

ปีพิมพ์ : 1 / 2554

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


     เราย่อมตระหนักว่าปัจจุบันทั่วโลกล้วนประสบภัยพิบัติทั้งจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์อย่างรุนแรงชนิดที่ไม่สามารถคาดคิด ทั้งแผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ระเบิด รวมไปถึงภัยพิบัติจากการก่อการร้าย ฯลฯ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราควรเรียนรู้
     การเอาตัวรอดในสถานการณ์ภัยพิบัติ ช่วยให้สามารถจะเอาตัวรอดพ้นจากเหตุภัยพิบัติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบเหตุภัยพิบัติที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่ครอบครัวใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน  สถานที่ที่ทำงานตั้งอยู่หรือแม้แต่การเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือทำงานในต่างถิ่น ในประเทศและต่างประเทศ การเตรียมสะสมเสบียงอาหารและสัมภาระที่จำเป็นในการดำรงชีวิตให้ได้เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน  การเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติในแต่ละกรณีไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากมนุษย์เป็นต้นเหตุ การฟื้นฟูสภาพของร่างกายและจิตใจ ภายหลังจากเหตุภัยพิบัติได้ผ่านพ้นไปแล้ว ให้สามารถที่จะพร้อมกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติดังเดิม
   

การเตรียมการรับมือกับภัยธรรมชาติและการก่อการร้าย

ภัยจากธรรมชาติ เช่น เฮอร์ริเคน ทอร์นาโด แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ น้ำท่วม ไฟป่า พายุหิมะ หรือโรคระบาด เป็นสิ่งที่มนุษย์เราต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งภัยคุกครามจากผู้ก่อการร้าย เช่น ระเบิดพลีชีพ ตึกถล่ม อาวุธเคมี อาวุธเชื้อโรค หรืออาวุธนิวเคลียร อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ โดยไม่เลือกวันเวลา สถานที่ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในแต่ละครั้งยังผลเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินเป็นจำนวนมากมายมหาศาลไม่อาจประเมินค่าได้
อย่างไรก็ดี มีสิ่งหนึ่งที่พวกเราทำได้เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา นั่นคือการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติไว้ล่วงหน้า ก่อนเหตุการณ์จะเกิดขึ้น โดยทั่วไปแล้วการเตรียมการรับมือภัยธรรมชาติและภัยจากผู้ก่อการร้ายจะไม่แตกต่างกันนัก เริ่มจาก
1. วางแผนสิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ในแต่ละประเภท
  • ศึกษาลักษณะ ข้อควรปฏิบัติ และข้อหลีกเลี่ยง ของภัยพิบัติแต่ละประเภท ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดไฟป่า ควรสวมหน้ากากกันควันไฟและอพยพไปในทิศเหนือลม หรือ เมื่อเกิดทอร์นาโด ควรอยู่ห่างจากหน้าต่างหรือหนีหลบลงไปห้องใต้ดิน เป็นต้น
  • ให้ความรู้แก่ เพื่อน ญาติพี่น้อง ครอบครัว
  • เตรียมพร้อมประเมินสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจที่จะอพยพหรืออยู่หลบภัยในที่พัก
  • ในบางสถานการณ์ การอยู่หลบภัยในที่พักจะปลอดภัยกว่า เช่น เมื่อเกิดภายุหิมะหรืออากาศภายนอกเป็นพิษ ให้พิจารณาเลือกห้องภายในตัวอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ปิดมิดชิด มีเสบียงเพียงพอ
  • ในกรณีที่ต้องอพยพ ให้กำหนดจุดนัดพบไว้หลายแห่ง ทั้งในระยะใกล้ที่สามารถเดินไปได้ จนถึงระยะไกลข้ามรัฐ โดยกำหนดไว้ในทุกทิศทาง คือ เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก อนึ่ง สำหรับคนที่มีรถยนต์ ควรเติมน้ำมันให้เหลืออย่างน้อยครึ่งถังอยู่เสมอ
  • วางแผนที่จะติดต่อสื่อสารถึง เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือครอบครัว เผื่อไว้หลายๆ รูปแบบ หากโทรศัพท์บ้านหรือโทรศัพท์มือถือใช้การไม่ได้ ก็อาจใช้อีเมลแทน อนึ่งการติดต่อข้ามเมืองหรือรัฐอาจทำได้สะดวกกว่าการติดต่อในเมืองที่พักอยู่ เนื่องจากเมืองในต่างรัฐอาจไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์
  • ควรวางแผนเผื่อไว้ กรณีเกิดเหตุการณ์ขณะที่อยู่ที่สถานศึกษาหรือที่ทำงาน
  • มั่นซักซ้อมและปรับปรุงแผนที่วางไว้อยู่เสมอ

2. เตรียมรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในกรณีฉุกเฉิน
  • เอกสารสำคัญประจำตัว เช่น หนังสือเดินทาง ใบขับขี่ บัตรประกันสุขภาพ และอื่นๆ ควรเก็บไว้ในถุงพลาสติกหรือแฟ้มที่กันน้ำได้
  • อุปกรณ์กรองอากาศ เช่น หน้ากากกันแก๊สพิษ เชื้อโรค
  • น้ำสะอาดสำหรับใช้ดื่ม อย่างน้อย 3 วัน
  • อาหารแห้ง สำเร็จรูป เครื่องกระป๋อง ให้เพียงพอ อย่างน้อย 3 วัน
  • เครื่องนุ่งห่ม เสื้อกันฝน เสื้อกันหนาว ถุงมือ ถุงนอน
  • ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉายสำรอง
  • วิทยุที่ใช้ถ่านไฟฉาย
  • เงินสด หรือเช็คเดินทาง
  • First Aid Kit - ผ้าพันแผล ยาฆ่าเชื้อโรค ยารักษาโรคทั่วไป ยาประจำตัว
  • ไม้ขีดไฟแบบกันน้ำ
  • เข็มทิศ
  • นกหวีด สำหรับเป่าเรียกความช่วยเหลือ
  • รองเท้าที่คงทนและสวมใส่สบาย
  • กระดาษชำระ
  • ถุงขยะพลาสติก สำหรับใส่สิ่งปฏิกูล
3. ติดตามข่าวสาร การเตือนภัย หรือการประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่และละแวกใกล้เคียง
  • ควรรับฟังข่าวสาร ประกาศเตือน จากทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ท เป็นประจำทุกวัน
  • พร้อมที่จะปรับใช้แผนที่เตรียมไว้ เข้ากับสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเคร่งครัด
  • และที่สำคัญที่สุด มีสติ อดทน และตรึกตรองก่อ

 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสอดคล้อง ข้อพ่อสอนไว้ “นิสัยแห่งความดี” ด้านต่างๆ  ดังนี้
1.ความเพียร เช่น มนุษย์เป็นคนที่มีความคิดฉลาดหลักแหลมหาวิธีป้องกันภัยธรรมชาติจนสามารถช่วยเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆได้เยอะ
2.ความพอดี เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอประมาณและเกิดประโยชน์สูงสุด
3.ความรู้ตน เช่น เราควรรู้ตนอยู่เสมอว่าธรรมชาติสำคัญกับเราขนาดไหนเราก็ควรที่จะช่วยกันรักษาธรรมชาติไว้อย่าให้ใครมาทำลายได้
4.คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ เช่น การที่เราได้รับผลประโยชน์จากธรรมชาติแล้วเราก็ควรจะให้ธรรมชาติกลับคืน เช่น การปลูกป่าไม้ทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายไป
5.อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ เช่น  ธรรมชาติที่เคยถูกทำลาย รอการฟื้นฟูจากมนุษย์ แต่มนุษย์กลับไม่เคยสนใจอะไรเลย
6.พูดจริงทำจริง คือ ช่วยกันรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาตินี้ไว้ ด้วยวิธีการต่างๆที่เราสามารถช่วยกันทำได้ เช่น การปลูกป่าไม้ทดแทน การไม่ตัดไม้ทำลายป่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การช่วยดูแลแม่น้ำลำคลอง
7.หนังสือเป็นออมสิน คือ นักภูมิอากาศใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ในการศึกษาว่าภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใดในขณะที่ภาวะเรือนกระจกรุนแรงขึ้น จึงค้นหาวิธีการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
8.ความซื่อสัตย์ เช่น ในฝ่ายของรัฐบาลสิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับรัฐบาลที่จะชะลอปัญหาโลกร้อนขึ้นก็คือ ห้ามการใช้สารซีเอฟซีซึ่งเป็นก๊าซที่มีประสิทธิภาพสูงในการกักความร้อน และยังทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศโลก


9.การเอาชนะใจตน เช่น โลกกำลังร้อนขึ้นทุกขณะ  นับตั้งแต่ยุคแรกที่นักวิทยาศาสตร์เริ่มวัดและบันทึกสถิติของโลกเป็นต้นมา ผู้คนต่างก็ต้องมีความอดทนมากกว่าเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น