ป่าชายเลน



--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อเรื่อง  :               ป่าชายเลน
ปีที่จัดพิมพ์           :               2534
ISBN     :     974-88684-9-4
ชื่อผู้แต่ง                :               สนิท อักษรแก้ว
บรรณาธิการ         :               สุวลักษณ์ นาทีกาญจนลาภ
จำนวนหน้า          :               25  หน้า
หน่วยงานจัดพิมพ์ :               มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ                :               ป่าชายเลน;ป่าโกงกาง;เนื้อที่;การแพร่กระจาย;ทรัพยากรธรรมชาติ;ความสำคัญ;พันธุ์ไม้;นิเวศวิทยาสัตว์;นิเวศวิทยาพืช;การทำลาย;การอนุรักษ์ป่าชายเลน;การจัดการทรัพยากร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 "ป่าชายเลน" ทรัพยากรธรรมชาติที่ให้คุณค่าและคุณประโยชน์ไม้เป็นพืชคุณภาพดีและถ่านที่ให้ความร้อนสูง ทำเสาเข็ม เฟอร์นิเจอร์ เป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัย เป็นสถานที่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิด นอกจากนี้    "ป่าชายเลน" ยังช่วยอนุรักษ์ชายฝั่งเป็นเกราะกำบัง ป้องกันลมพายุ บรรเทาการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยกรองขยะและสิ่งต่างๆ บริเวณชายฝั่งและยังช่วยเพิ่มเนื้อที่พื้นดินด้วย
    
     ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดการรบกวนจากมนุษย์ ในรูปแบบของธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติมักมีลักษณะของปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายของภูมิประเทศในหลายระบบนิเวศ
ทรัพยากรธรรมชาติมาจากสิ่งแวดล้อม บางทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ทรัพยากรธรรมชาติยังอาจจำแนกต่อไปได้อีกหลายวิธีเช่นการทำสิ่งต่างๆที่เป็นประโยช

     ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุและองค์ประกอบที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มนุษย์ทำขึ้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ (ในระดับมูลฐาน) ทรัพยากรธรรมชาติอาจมีเป็นสิ่งแยกกัน เช่น น้ำและอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอย่างปลา หรืออาจมีอยู่ในรูปผลัด (alternative) ที่ต้องผ่านขบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร เช่น แร่โลหะ น้ำมันและพลังงานรูปส่วนใหญ่

     มีการถกเถียงอย่างมากทั่วโลกในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้น (การหมดไปของทรัพยากร) แต่ยังเนื่องจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว)

     บางทรัพยากรธรรมชาติสามารถพบได้ทุกหนแห่ง เช่น แสงอาทิตย์และอากาศ อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนมากมิได้พบทั่วไป เพียงเกิดขึ้นในพื้นที่เล็ก ๆ กระจัดกระจายกัน ทรัพยากรกลุ่มนี้เรียกว่า ทรัพยากรท้องถิ่น มีทรัพยากรน้อยชนิดมากที่ถูกพิจารณาว่าใช้แล้วไม่หมด (inexhaustible) คือ จะไม่หมดไปในอนาคตอันใกล้ ทรัพยากรกลุ่มนี้ ได้แก่ รังสีดวงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และอากาศ (แม้การเข้าถึงอากาศที่สะอาดอาจหมดไปได้) อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ใช้แล้วหมดไป (exhaustible) หมายความว่า มีปริมาณจำกัด และหมดไปได้หากจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุ ซึ่งสิ่งมีชีวิตสามารถได้รับจากธรรมชาติเพื่อดำรงชีพหรือองค์ประกอบอื่นของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเพิ่มสวัสดิการของตนก็ถูกพิจารณาว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน

       ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง (อังกฤษ: Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
     ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน มีหน้าที่เป็นปราการเชื่อมต่อระหว่างระบบนิเวศบนบกและนิเวศทางทะเล โดยทำหน้าที่ช่วยเก็บกักตะกอนและกลั่นกรองความสกปรกที่มาจากกิจกรรมบนบก และยังมีหน้าที่ช่วยรักษามวลดินและหน้าดินไม่ให้ถูกพัดพาออกจากขอบฝั่งและริมตลิ่ง นอกจากนี้ ระบบนิเวศป่าชายเลนยังเป็นแหล่งผลิตออกซิเจน และเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตสูง เหมาะแก่การท่องเที่ยวและศึกษาวิจัย
      ระบบนิเวศป่าชายเลนป่าชายเลนในประเทศไทยมีสถานภาพแตกต่างกัน ทั้งในด้านพืชพรรณ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง จึงเป็นสาเหตุให้ระบบนิเวศป่าชายเลนในแต่ละพื้นที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจสรุปปัญหาได้ 3ลักษณะ คือ
พื้นที่ป่าชายเลนที่คงสภาพเป็นป่าอยู่ แต่มีชุมชนเข้าไปอาศัยอยู่ และใช้ประโยชน์ต่าง ๆ พื้นที่บางส่วนถูกบุกรุก ได้แก่ ป่าชายเลนบริเวณฝั่งอันดามัน จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต
พื้นที่ป่าชายเลนที่มีการบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ และเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง เช่น บริเวณอ่าวไทยภาคตะวันออกและภาคใต้ ของจังหวัดจันทบุรี สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
พื้นที่ป่าชายเลนที่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์แต่ไม่คุ้มทุน เช่น การปลูกป่าชายเลนหรือการทำนากุ้ง จึงมีการขายให้กับนายทุน ตลอดจนการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม จนเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และฉะเชิงเทรา
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากพื้นที่ป่าจำนวนมากถูกทำลายจน
หมดสภาพ และพื้นที่ที่เหลือได้รับผลกระทบจนเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนไม่น้อย จนเหลือเนื้อที่
ลดน้อยลงทุกปี แม้ว่ารัฐบาล จะได้ให้ความสำคัญโดยการออกมาตรการต่างๆ ให้กรมป่าไม้และ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับดำเนินการ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลานป่าและเร่งรัดการปลูกและ
ฟื้นฟูป่าชายเลน แต่ก็เพียงมีผลให้เนื้อที่ป่าชายเลนลดลงแต่ละปีน้อยกว่าเดิมเท่านั้น
แนวทางการจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืน
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินการ เพื่ออนุรักษ์
และพัฒนาป่าชายเลนมาโดยตลอด และได้ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดขึ้น
ในระดับชาติ ซึ่งบางกรณีเป็นมาตรการรีบด่วนที่ระดมกำลังจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าไป ให้การ
สนับสนุนและร่วมดำเนินการด้วย แต่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้อง อยู่ตลอดเวลา และหากสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่ในลักษณะนี้
รัฐอาจไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้อย่างน้อย 1 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2544ตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)
แนวทางที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ
 เพื่อรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ได้ตามเป้าหมาย และสามารถอำนวยประโยชน์ได้ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ดังนี้
1. เร่งรัดพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ด้วยวิธีการให้ความรู้ ความ เข้าใจ ที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึกและเห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยรัฐควรให้สิทธิและความมั่นคงรวมทั้งสิ่งจูงใจ ในประโยชน์ที่ประชาชนเหล่านี้ จะได้รับจากการคุ้มครองป้องกันและฟื้นฟูดูแลรักษาป่าชายเลน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และความช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ในการจัดการ บริหารป่าชุมชนชายเลนต่อไป
2. ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการบุกรุทำลาย ยึดถือ ครอบครอง และจับจองเพื่อการได้มาซึ่งเอกสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนโดยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้การอนุรักษ์ และการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน สามารถดำเนินการได้ผลอย่างแท้จริง และเป็นการขจัดปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนให้หมดไป

3. ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนอย่างละเอียดและใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการป่าไม้ และการจัดการที่ดินป่าชายเลนให้เหมาะสมกับศักยภาพ ก่อนที่การอนุญาตทำไม้ในระบบสัมปทานระยะยาวในรอบที่ 2 จะสิ้นสุด เพื่อจะได้ดำเนินการให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชนตามความเหมาะสม ภายใต้แผนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

4. ส่งเสริม และสนับสนุน ให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชน โดยให้มีการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าชายเลน และความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย

5. ปรับปรุงระบบการอนุรักษ์ และป้องกันรักษาป่าชายเลน ให้มีการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น และให้มีการพัฒนาและปรับปรุงบทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าและหน่วยจัดการป่าชายเลน จากการป้องกันปราบปราม และการควบคุมการทำไม้ มาเป็นนักส่งเสริมและพัฒนาป่าชายเลนมากขึ้น

6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของกรมป่าไม้ ให้มีโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างเพียงพอ มีความร่วมมือและประสานงานที่ดี

7. ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มบทบาท ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาวิจัย การฝึกอบรม ตลอดจนการประชุมสัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนแบบยั่งยืน


สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสอดคล้อง 9 ข้อพ่อสอนไว้ นิสัยแห่งความดีด้านต่างๆ  ดังนี้


1)  ความเพียร
ถ้าเราทุกคน  มีความเพียรที่จะช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยาก่อน  เเละช่วยกันลงมือปลูกต้นไม้  ไม่ทำลายสิ่งเเวดล้อม  นี้ก็สามารถช่วยลดโลกร้อนได้อีกหนึ่งวิธี

  2 )  ความพอดี
ถ้าเราทุกคนมีความพอดีที่จะใช้  พอใจในสิ่งที่เรามี  ทรัพยากรในโลกนี้ก็จะไม่หมดไปเพียงเเค่เรามีความพอดี                                                                                                                                                          
  3 ) ความรู้ตน
ก่อนที่เราจะทำอะไร  เราควรรู้อยู่เสมอว่า  สิ่งที่เรากำลังทำนั้นดีหรือไม่  สิ่งที่เรากำลังจะลงมือที่จะทำนั้น เราสิ่งษามาดีหรือยัง ถ้าเรามีความรู้ที่เพียงพอ มีการวางแผนที่เป็นระบบ ความสำเร็จก็จะไม่เกินความสามารถของเรา

   4 ) คนเราจะต้องรับเเละจะต้องให้
สิ่งที่เรามีอยู่  เมื่อมันเกิน  หรือเราใช้เเล้วเหลือ  ถ้าสิ่งนั้นยังคงมีคุณภาพที่ดี  เราก็ควรที่จะเเจกจ่ายให้เเก้เพื่อนมนุษย์ เมื่อเราได้เป็นผู้ให้  ครั้งต่อไป เราจะได้เป็นผู้รับที่ดี

   5 )อ่อนโยน  เเต่ไม่อ่อนเเอ
โลกมนุษย์  จะอยู่กันอย่างมีความสุข เราทุกคนต้องมีความอ่อนโยน  ธรรมชาติก็เช่นกัน  ถ้าเราอ่อนโยนต่อมัน   มันก็จะเติบใหญ่เเละสวยงาม  เเละจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราใจร่มเย็นเช่นกัน

   6 )พูดจริงทำจริง
เกินเป็นคน  ว่าจาต้องสัตย์  พูดไรไว้ก็ต้องมือทำ

   7 ) หนังสือเป็นออมสิน
ก่อนจะทำอะไร  เีาต้องศึกษาให้รอบคอบ วางแผนให้ดี  เเล้วผลงานก็จะออกมาดี  จะประสบความสำเร็จดั้งใจหวัง

  8) ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตญื  เป็นพื้นฐานของความดี เมื่อในใจเรามีความดีอยู่ เราคิดสิ่งใด  ทำสิ่งใด มันก็จะเป็นผลดีเเก่เรา

   9) การเอาชนะใจตน

ถ้าเราสามารถชนะใจตนเอง  เลือกที่จะทิ้งขยะลงถัง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ช่วยกันลด  ประหยัด  ทรัพยากร  เราก็สามารถช่วยลดโลกร้อนได้เเล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น